ไซนัสอักเสบ เป็นภาวะที่ส่วนใหญ่แล้วการเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ หรือภูมิแพ้ จะทำให้เยื่อบุภายในช่องจมูกเกิดการบวม ส่งผลให้โพรงไซนัสที่ติดต่อกับจมูกตีบตัน เกิดน้ำมูกคั่งภายในโพรงจมูก เป็นสภาวะเหมาะแก่การเติบโตของเชื้อโรค จนเยื่อบุอักเสบและเป็นหนอง โรคนี้มีอยู่ 2 ชนิด เมื่อเป็นและจะมีอาการปวดหัว คัดจมูก สามารถรักษาและป้องกันการเกิดไซนัสอักเสบได้

ไซนัสอักเสบ คือโรคอะไร

ไซนัส (Sinus) คือ โพรงอากาศที่อยู่ในกะโหลกศีรษะบนใบหน้ารอบๆ จมูก มีรูเปิดติดต่อกับช่องจมูก ภายในไซนัสมีเยื่อบุ ต่อเป็นผืนเดียวกันกับเยื่อบุภายในช่องจมูก ทำหน้าที่ปรับอากาศที่เราหายใจเข้าไป โดยผ่านบริเวณจมูก ช่วยถ่ายเทความร้อนและความชื้นจากหลอดเลือดบนผิวเยื่อบุให้เหมาะสมกับร่างกาย  ซึ่งไซนัสมี 4 คู่ ได้แก่

  •  บริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง  (maxillary sinus)
  •  ระหว่างลูกตา บริเวณหัวตา 2 ข้าง (ethmoid sinus)
  •  บริเวณหน้าผากใกล้กับหัวคิ้ว 2 ข้าง (frontal sinus)
  •  อยู่ในกะโหลกศีรษะ ใกล้ฐานสมอง (sphenoid sinus)

เมื่อเป็นหวัดไข้หวัดใหญ่ หรือภูมิแพ้ จะทำให้เยื่อบุภายในช่องจมูกเกิดการบวม ส่งผลให้โพรงไซนัสที่ติดต่อกับจมูกตีบตัน เกิดน้ำมูกคั่งภายในโพรงจมูก เป็นสภาวะเหมาะแก่การเติบโตของเชื้อโรค จนเยื่อบุอักเสบและเป็นหนอง เกิดภาวะไซนัสอักเสบขึ้นได้  นอกจากนี้ภาวะติดเชื้อที่รากฟัน สามารถทำให้ไซนัสอักเสบได้เช่นกัน เนื่องจากกระดูกที่คั่นระหว่างรากฟันกับไซนัสบางมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งกระดูกจะบางลงตามอายุ

แบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้

  1. ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (acute sinusitis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ทำให้เกิดการอักเสบ มีเสมหะมากขึ้น คัดจมูก รู้สึกไม่สบายที่แก้ม หน้าผาก หรือรอบดวงตา และปวดศีรษะ   ส่วนใหญ่สามารถรักษาหายภายใน  3 สัปดาห์ และเป็นน้อยกว่าปีละ 4 ครั้ง
  2. ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronic sinusitis) เป็นภาวะเรื้อรังนานกว่า 12 สัปดาห์ และเป็นมากกว่าปีละ 4 ครั้ง

อาการไซนัสอักเสบ

  • ปวดหน่วงๆ ตามบริเวณไซนัสอักเสบเช่น หน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม หรือรอบๆ ดวงตา
  • ปวดศีรษะ  มักเป็นมากช่วงเช้าหรือบ่าย โดยเฉพาะเมื่อก้มศีรษะ หรือเปลี่ยนท่า
  • น้ำมูกเป็นหนองข้นสีเขียวหรือเหลือง เวลาสูดจมูกแรงๆ รู้สึกน้ำมูกไหลลงคอ
  • คัดแน่นจมูก  หายใจมีกลิ่นเหม็นคาว
  • ปวดหู หูอื้อ
  • เจ็บคอ
  • มีไข้
  • อ่อนเพลีย

ปัจจัยเสี่ยงไซนัสอักเสบ

  • ผู้ป่วยไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และภูมิแพ้ ทำให้เยื่อเมือกบวม ซึ่งอาจอุดตันโพรงไซนัส
  • ผู้มีความผิดปกติของช่องจมูก เช่น ผนังกั้นระหว่างช่องจมูกคด ช่องจมูกแคบกว่าปกติ ทำให้เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อง่ายขึ้น
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำหรืออยู่ในเขตมลภาวะเป็นพิษ ส่งผลให้ภูมิต้านทานลดลง
  • การว่ายน้ำในสระที่ใส่คลอรีน หรือสารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อโรค หากสำลักน้ำอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุภายในไซนัส
  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศ

ไซนัสอักเสบ

การวินิจฉัยและการรักษาโรคไซนัสอักเสบ

แพทย์จะซักประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย โดยการส่องดูหนองหรือมูกที่ด้านหลังของคอ ร่วมกับการกดบริเวณหน้าผาก โหนกแก้ม หัวตา  รวมถึงการตรวจพิเศษ ดังนี้

  • การตรวจด้วยการส่องกล้อง (nasal endoscopy)
  • การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI)
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)  กรณีที่ต้องการรายละเอียด เพื่อทำการผ่าตัด หรือในผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน

การส่งตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัย

  1. ภาพเอกซเรย์ไซนัส อาจพบความผิดปกติ เช่นการทึบแสงของโพรงไซนัสโดยเปรียบเทียบบริเวณ maxillary sinus กับบริเวณเบ้าตา มีทั้งทึบแสงทั้งหมด ทึบแสงบางส่วนเห็นเป็นระดับ air-fluid level หรือพบมีการหนาตัวของเยื่อบุโพรงไซนัส ซึ่งภาพรังสีในสองแบบแรกมีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัย มากกว่า ภาพรังสีที่พบการหนาตัวของเยื่อบุโพรงไซนัสที่อาจพบได้ในคนปกติและผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
  2. เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ และเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กของไซนัส จะพบมีความผิดปกติของเยื่อบุจมูก และ/หรือมีความผิดปกติของไซนัสบริเวณ osteomeatal complex ซึ่งเป็นรูเปิดของไซนัส ซึ่งสามารถพบได้ ในคนปกติที่ไม่มีอาการได้ถึง 33% ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ทำการตรวจค้นดังกล่าวในการวินิจฉัยไซนัสอักเสบ ทั่วไป แต่จะแนะนำให้ทำในกรณีที่ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตา สมอง หรือในผู้ป่วยที่สงสัยเนื้องอกของจมูกและ/หรือไซนัส หรือมีสาเหตุอื่นที่ทำให้มีอาการปวดบริเวณใบหน้า หรือผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่ให้ยาไปแล้วไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่ามีไซนัสอักเสบร่วมกับมีประวัติได้รับ อุบัติเหตุ หรือได้รับการผ่าตัดบริเวณใบหน้ามาก่อน หรือในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อน จากไซนัสอักเสบ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเบาหวาน ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นต้น

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ

  • ยาปฏิชีวนะ
    • การใช้ยารักษาไซนัส จะใช้ต่อเมื่อเกิดกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย
    • ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่จำเป็นต้องใช้ยา
    • แต่หากเกิดจากเชื้อราซึ่งพบน้อยมาก กรณีนี้ต้องใช้กระบวนการผ่าตัดเพื่อนำก้อนเชื้อราออก
  • ยาแก้แพ้ เพื่อลดภาวะภูมิแพ้ที่ส่งผลให้เกิดไซนัสอักเสบได้
  • ยาพ่นจมูก (Nasal steroid spray) ยาพ่นจมูกที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อและการแพ้อากาศ และยังช่วยป้องกันการงอกของริดสีดวงจมูกหลังการผ่าตัดไซนัส
  • ยาลดน้ำมูก (Decongestant) ช่วยให้หลอดเลือดในเนื้อเยื่อจมูกชั้นในหดตัว ส่งผลให้อาหารคัดจมูกและน้ำมูกไหลน้อยลง
  • ใช้น้ำเกลือล้างจมูก เพื่อล้างเมือกจากโพรงจมูกและไซนัส
  • การรักษาโดยการผ่าตัด

ก่อนทำผ่าตัดจำเป็นต้องทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการผ่าตัดและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น  เหมาะกับการรักษาไซนัสที่เกิดจากความผิดปกติของโพรงจมูก หรือเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตไปปิดกั้นโพรงไซนัส

การป้องกันการเกิดไซนัสอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงโรคไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ โดยการฉีดวัคซีน
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัด หรือติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษ
  • อยู่ในสถานที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ใช้เครื่องกรองอากาศ หากนอกบริเวณบ้านมีมลพิษ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้พอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าให้จมูกแห้ง

ภาวะเเทรกซ้อนจากไซนัสอักเสบ

  • ผลกระทบต่อเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง ทำให้เกิดการอักเสบต่อเยื่อบุลำคอ  กล่องเสียง และหลอดลม  ส่งผลให้เสี่ยงภาวะหอบหืด
  • ลุกลามไปตา ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ดวงตาอักเสบ เกิดอาการปวดตา  ตาบวม ตาเเดง ลูกตาโปน  การมองเห็นลดลง อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น
  • ลามไปสมอง ส่งผลต่อการมองเห็น  ปวดศีรษะ  มีไข้ หากการอักเสบมากขึ้น อาจมีไข้สูง เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือลุกลามไปยังเนื้อสมอง จนรุนแรงถึงชีวิตได้
  • ลามไปกระดูก อาจส่งผลให้การอักเสบกระจายไปสู่สมอง ส่งผลให้การรักษายากขึ้น และเสียชีวิตในที่สุด

 

แม้ไซนัสอักเสบจะมีอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถรักษาให้หายได้โดยใช้เวลาไม่นาน แต่หากปล่อยให้การอักเสบต่อเนื่องจนเรื้อรังอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ใกล้เคียง สร้างความซับซ้อนและความยุ่งยากในการรักษา และอาจส่งผลถึงชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น หากพบว่ามีอาการต่างๆ ของภาวะไซนัสอักเสบติดต่อกันนานเกิน 10 วัน สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน จึงควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  thesupcentre.com

สนับสนุนโดย  ufabet369